ท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม

สถานที่ท่องเที่ยวในตำบลแม่ดง

น้ำตกบาเละ

      

      

 

บึงจือแร
 
       
 
         
 
         
 
                
 
 
                                                               
 
 
ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น

ศาสนาพุทธ


1) วันว่างหรือวันขึ้นปีใหม่(วันสงกรานต์) : วันว่างหรือวันขึ้นปีใหม่นี้มีทุกภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง อีสาน และภาคใต้ ทุกภาคปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ยึดมั่นประเพณีเดิมคือประเพณีสงกรานต์
วันว่างหรือวันสงกรานต์ เป็นประเพณีที่ไทยรับมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่งแต่เนื่องจากว่า ไทยนับถือพุทธศาสนาจึงนำมาปรับปรุงในทางดีงาม เช่นการนับถือบรรพบุรุษจึงเอากระดูกของบรรพบุรุษไปทำบุญทำทานในวัด วันอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายและเปรตชน วันว่างเป็นหลักการของสังคมและการปกครอง

2) ประเพณีลากพระ(ชักพระ) : กระทำกันในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว 1 วัน ยานพาหนะสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นตกแต่งเป็นรูปเรือ เรียกว่า “เรือพระ” มีบุษบกวางไว้ภายวนบุษบกนั้นประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เช่น ปางประทานพร ฯลฯ มีเชือกเส้นใหญ่และยาว 2 เส้น ผูกที่หัวเรือพระเพื่อให้ประชาชนที่มาร่วมการกุศลลากเรือพระไปตามเส้นทางที่กำหนด มีกลองใหญ่ 2 ใบใช้ตีประโคมวางอยู่บนเรือและตีไปตลอดทางให้เรือไปถึงที่หมายก่อนเวลาเพล มีภิกษุและสามเณรที่ทำเรือพระขึ้นนั้น ร่วมในเรือพระบ้างหรือเดินตามเรือพระไปบ้าง เมื่อถึงที่หมายอุโบสกอุบาสิกาและภิกษุสามเณร ทำพิธีสมโภชพระพุทธรูปที่พากันแห่มาแล้สถวายภัตตาหารเพล เสร็จแล้วพระสงฆ์อนุโมทนาทานเมื่อได้เวลาก็ลากเรือพระกลับวัด
 
3) การทำบุญวันสารทเดือนสิบ : ทำบุญวันสารที่ทำกันในเดือนสิบมีการทำบุญ 2 วัน คือวันแรม 1 คำเดือน 10 และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 พอใกล้วันที่กำหนดประชาชนก็เตรียมของเพื่อนำไปทำบุญ มีต้ม ขนนม ทอดมัน ขนมเจาะหู ขนมลูกสะบ้า ขนมลา และมีอาหารคาวหวานอย่างอื่นก็จัดถวายเป็นอาหารเพล
 
 
 
ศาสนาอิสลาม
 
1) พิธีถือศีลอด : มุสลิมทุกคนเมื่อบรรลุศาสนภาวะหรือเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นสาวแล้ว จำเป็นต้องถือศีลอดเว้นแต่บุคคลดังต่อไปนี้
- เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ
- คนที่ขาดสติสัมปชัญญะ
- คนชรา
- คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่ารักษาไม่หายหรือคนป่วยโรคทั่วไป กล่าวคือร่างกายอยู่ในสภาพไม่ปกติ หากถือศีลอดแล้วจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ถ้าเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ฮ่องกงฟุต ไซนัส หรือสุขภาพไม่ดีเพราะหูไม่ได้ยิน ตามัว ฯลฯ
- หญิงมีครรภ์และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมแก่ทารกหรือแม่นม เพราะหญิงเหล่านี้อยู่ในภาวะที่ต้องการอาหารมาก
- หญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอดบุตร
- บุคคลซึ่งอยู่ระหว่างการเดินทาง ซึ่งเป็นการลำบากที่จะถือศีลอด การเดินทางในสมัยก่อนลำบากมาก เพราะการคมนาคมไม่สะดวกรวดเร็วเช่นในปัจจุบัน
- บุคคลที่ทำงานหนัก เช่นกรรมกรแบกหาม กรรมกรในเหมืองแร่ ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจ และศรัทธาของแต่ละคนว่าจะสามารถถือศีลอดได้หรือไม่ โดยไม่หลอกทั้งตัวเองและพระเจ้า
การถือศีลอด มุสลิมทุกคนต้องถือศีลอดคนละ 1 เดือน คือ ในเดือนที่ 9 ของฮิจเราะฮ.ศักราชซึ่งเรียกว่าเดือนรอมฎอน (ปีปฎิทินอิสลามนับจากจันทรคติ)
หลักการปฎิบัติทั่วไปของการถือศีลอด คืองดเว้นการบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมสังวาส การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำชั่ว ทั้งทั้งทางด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนกระทั่งหมดแสงอาทิตย์
 
2) วันรายอ(อีดิ้ลฟิตร.) : หมายถึง วันที่เวียนมาสู่สภาพเดิม กล่าวคือ เป็นวันที่กลับมาสู่การเว้นจากการถือศีลอด ทั้งนี้เพราะวันอีดิ้ลฟิตร.นี้ถือเป็นวันแห่งการรื่นเริง อนึ่งในการถือศีลอด ชาวไทยมุสลิมนิยมใช้คำว่า “ถือบวช” ดังนั้นในวันอีดิลฟิตร. จึงนิยมเรียกว่า “วันออกบวช” หรือวัน “อีดเล็ก”
 
3) วันเมาลิด : ถือเป็นวันคล้ายวันระลึกถึงวันเกิดของนบีมูฮัมหมัด(ซ.บ.) ศาสดาแห่งศาสนา อิสลาม ประชาชนนิยมประกอบศาสนกิจ ทำบุญให้ทานตลอดเดือน(วันหนึ่งวันใดก็ได้ในเดือนรอบิอุลอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ทางจันทรคติ)
 
6) การกวนขนมอาซูรอ : เป็นประเพณีพื้นบ้านของชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม คำว่า "อาซูรอ" เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ 10 ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ชาวบ้าน นิยมกวนขนมอาซูรอกันในเดือนนี้ จึงเรียกกันว่า ขนมอาซูรอ
ขนมอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ผู้คนรู้กันทั่วว่าจะกวนขนมอาซูรอ ที่ไหน เมื่อใด พอถึงวันกำหนดนัด ชาวบ้านก็จะช่วยกันนำอาหารดิบ อันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน ผู้คนจะมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าภาพผู้เชิญชวน เมื่อได้ของมามาก พอแล้วก็จะช่วยกันกวน เครื่องปรุงที่สำคัญประกอบด้วย
1. เครื่องแกง มี ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผังชี ยี่หร่า
2. ข้าวสาร
3. เกลือ น้ำตาล กะทิ
4. อื่น ๆ เช่น มัน กล้วย (หรือผลไม้อื่น ๆ) เนื้อ ไข่ ส่วนประกอบที่
4. นี้จะให้อะไรก็ได้ ขอให้เป็น สิ่งที่รับประทานได้เท่านั้น
วิธีกวน ตำหรือบดเครื่องแกงอย่างหยาบ ๆ เทส่วนผสมต่าง ๆ ลงในกะทะ ใบใหญ่ ปรุงรส ตามใจชอบ เมื่อขนมสุกเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็ตักใส่ถาด แล้วโรยหน้าด้วยไข่เจียวบางๆ หรืออาจจะ เป็นหน้ากุ้ง เนื้อสมัน ปลาสมัน ผักชี หอมหั่น แล้วแต่รสนิยมของท้องถิ่น ขอขนมเย็นแล้วก็ตัดเป็น ชิ้น ๆ คล้ายขนมเปียกปูน พร้อมที่จะแจกจ่ายรับประทานกันได้ แต่ก่อนจะรับประทานกัน เจ้าภาพ จะเชิญบุคคลที่เป็นที่นับถือของชุมชนนั้น ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) จากพระผู้เป็นเจ้า เสร็จพิธีแล้ว จึงแจกจ่ายรับประทานกัน
ความเป็นมาของการกวนขนมอาซูรอนั้น สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮ (อล.) สมัยนั้นเกิดภาวะ น้ำท่วมใหญ่ ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาขงประชาชนทั่วไป บรรดาสาวกของนบีนุฮ (อล.) และคนทั่วไปขาดอาหาร นบีนุฮ จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ เอามากอง รวมกันเนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้า ด้วยกัน ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัยบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก กล่าวคือ ขณะที่กองทหารของท่าน กลับจาก การรบที่ "บาดัร" ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านนบีมูหัมมัด (ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของ นบีนุฮ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้ มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานใน หมู่ทหารทั้งปวง

4) วันรายาฮัจญี(อีดิ้ลอัฏฮา) : วันประกอบพิธีฮัจญี ณ นคร มักกะฮ์ ประชาชนทั่วไปนิยมทำพิธีละหมาดสุนัต หลังจากพิธีละหมาดจะมีการทำกุรบั่น 3 วัน กล่าวคือ การคือ การเชือดสัตว์เพื่อบริจาคแจกจ่ายแก่ผู้ยากจน สัตว์ที่เชือดได้แก่ แพะ แกะ อูฐ และวัว ซึ่งเรียกว่า “อุฎฮิยฮ.” แต่คนทั่วไปมักเรียกสัตว์ที่เชือดเป็นพลีนี้ว่า “กุรบั่น” ซึ่งคำนี้มีความหมายว่า ทำให้เข้าใกล้ชิด

 

5) การเข้าสุหนัต :
เรียกในภาษาอาหรับว่า “คอตั่น” และเรียกในภาษยาวีว่า “มาโซ๊ะยาวี” การเข้าสุนัตคือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย โดยชายมุสลิมทุกคนจะต้องปฎิบัติ ดังนั้นผู้ปกครองจึงมักทำการสุหนัตให้แก่ลูกหลานตั้งแต่เด็ก ๆ สำหรับชายที่เข้ามารับศานาอิสลามก็ต้องปฎิบัติเช่นกัน

7) มาแกปูโละ : เป็นภาษามลายูท้องถิ่นของ 3 จังหวัดภาคใต้ ตรงกับภาษาไทยว่า "กินเหนียว" มาแกปูโละเป็นประเพณี "กินเลี้ยง" ของท้องถิ่น นิยมทำกันทั้งชาวพุทธและชาวมุสลิมภาคใต้ ในกลุ่มของชาวมุสลิมนั้น "มาแกปูโละ" หมายถึงงานกินเลี้ยงใน งานแต่งงาน งานเข้าสุหนัด หรือเพื่อหาเงินกิจกรรมอะไรสักอย่างก็ได้ แต่สำหรับชาวไทยพุทธหมายถึงงานเลี้ยงแต่งงานอย่างเดียว ความจริงเมื่อไปในงานนี้แล้ว ไม่ได้ไปกินข้าวเหนียว หากแต่ไปกินข้าวเจ้าเหมือนงานกินเลี้ยง ทั่วไป สันนิษฐานว่า เดิมคงกินข้าวเหนียวกันจริง ๆ แต่เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปจน กลายเป็นข้าวเจ้า แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่ากินเหนียวอยู่
 
8) ประเพณีการแต่งงาน : ชาวไทยมุสลิมภาคใต้ มีประเพณีการแต่งงานแตกต่างไปจากชาวไทยพุทธ ทั้งนี้เพราะต้อง ปฏิบัติให้เป็นไปตามศาสนาบัญญัติ จะละเมิดไม่ได้
การเลือกคู่ครองของไทยมุสลิม ต้องเป็นไปตามศาสนบัญญัติที่ว่า ต้องแต่งงานกับ คนที่เป็นมุสลิมด้วยกันเท่านั้น ในกรณีที่เป็นคนนอกศาสนา จะต้องให้เข้านับถือศาสนาอิสลาม เสียก่อน ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในทางเดียวกัน และเมื่อมีลูกด้วยกันลูกจะได้เริ่มนับถือ ในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นการวางรากฐานศาสนาแต่เยาว์วัย อายุที่สมควรแต่งงาน ถ้าเป็นผู้หญิงต้อง ภายหลังจากที่มีประจำเดือนแล้วอายุประมาณ 13 -15 ปี แต่ในปัจจุบันเยาวชนมีการศึกษาดีขึ้น การแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยได้ลดน้อยลงไปด้วย
 

3.1 การสู่ขอ
ผู้ไปสู่ขอคือมารดาฝ่ายชาย หรือญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชาย ต้องไปขอพบกับผู้ใหญ่ ของฝ่ายหญิงพร้อมกับมีของไปฝากฝ่ายหญิง อาจจะเป็นขนมหรือผลไม้ก็ได้ เมื่อไปถึงแล้วก็บอกว่า มีธุระจะปรึกษาด้วย แล้วสอบถามว่าผู้หญิง (คนที่ต้องการสู่ขอ) มีคู่แล้วหรือยัง มีชายใดหมายปอง อยู่แล้วหรือไม่ ถ้าฝ่ายหญิงตอบว่ายังไม่มี ก็บอกว่าต้องการสู่ขอให้กับใคร ฝ่ายหญิงจะไม่ตอบ ตกลงในตอนนั้นและจะไม่ตอบรายละเอียดใด ๆ แต่จะขอเวลาปรึกษากันระหว่างญาติ ๆ ประมาณ 7 วัน ช่วงเวลานี้ฝ่ายหญิงอาจจะสืบถามรายละเอียดเกี่ยวกับฝ่ายชาย (หากไม่รู้จักกัน มาก่อนหรือยังรู้จักไม่ดีพอ) แม้จะรู้จักกันอยู่เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะขอให้รอคำตอบตามประเพณี เมื่อครบกำหนดฝ่ายหญิงจะส่งคนที่นับถือไปบอกฝ่ายชายในกรณีที่ตกลง ถ้าไม่ตกลงก็จะเงียบเฉย ให้เป็นที่รู้เอาเอง เมื่อฝ่ายหญิงตกลงแล้ว ผู้ใหญ่ฝ่ายชายก็จะไปตกลงวิธีการแต่งงานที่บ้าน ฝ่ายหญิงอีกครั้งในวันนี้จะตกลงเรื่องวันแต่งงาน สินสอด ของหมั้น และมะฮัร

สินสอด คือ เงินที่ให้แก่บิดามารดาของหญิงที่จะแต่งงานเป็นค่าน้ำนมหรือทรัพย์สินฝ่ายชาย ให้แก่ผู้ปกครองของหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส

ของหมั้น คือ สิ่งที่มอบให้หญิงไว้ เพื่อแสดงว่าจะมาแต่งงานด้วยต่อไป

มะฮัร คือ เงินหรือสิ่งของที่มอบให้หญิงที่จะสมรสและเป็นสิทธิ์ของเธอโดยเฉพาะไม่ตกเป็น ของบิดาหรือมารดา

หลังจากตกลงเรื่องสินสอดของหมั้นเรียบร้อยแล้ว ก็จะหาวันดีที่จะประกอบพิธีแต่งงาน ซึ่งเป็นไปตามประเพณีนิยมของแต่ละท้องถิ่น อาจให้ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายเป็นผู้ไปหา ขั้นตอน ต่อไปก็จะเตรียมงาน พิธีจะประกอบที่บ้านฝ่ายหญิงและเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิงที่จะต้องเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ให้พร้อม

3.2 การหมั้น
ตามประเพณีไทยมุสลิมอาจะเลือกทำได้ 2 ลักษณะ คือ หมั้นก่อนทำพิธีนิกะห์ (แต่งงานตามหลักศาสนา)หรือหมั้นหลังทำพิธีนิกะห์ ซึ่งจะเป็นผลดีและมีข้อห้ามต่างกันกล่าวคือ ถ้าหมั้นก่อนแต่งงาน เจ้าบ่าวจะถูกต้องเจ้าสาวไม่ได้ จะกระทำกันระหว่างผู้ใหญ่ของทั้ง 2 ฝ่าย เท่านั้น แล้วจึงแจ้งให้เจ้าบ่าวและเจ้าสาวรู้ว่าตนมีคู่หมั้นแล้ว หลังจากนั้นจะทำให้การติดต่อกัน เป็นไปด้วยความสะดวก คือฝ่ายชายสามารถติดต่อกับญาติของฝ่ายหญิงได้โดยไม่ถูกครหานินทา ส่วนการหมั้นหลังพิธีนิกะห์แล้ว เจ้าบ่าวสามารถถูกต้องเจ้าสาวได้ เจ้าบ่าวจึงสวมของหมั้น ให้กับเจ้าสาวได้ และสามารถจัดพิธีนั่งบัลลังก์เพื่อให้ญาติทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมแสดงความยินดีได้อย่าง สมเกียรติ

3.3 พิธีแต่งงาน
การแห่ขันหมากและแห่เจ้าบ่าวไปยังบ้านเจ้าสาวจะมีหรือไม่ก็ได้ ถ้ามีขบวน ที่แห่เจ้าบ่าวจะประกอบด้วยขันหมากตามที่ตกลงกัน ซึ่งจะต้องมีจำนวนเป็นเลขคี่อย่างน้อย 5 ขัน ขันหมากสำคัญ ๆ คือ เงินหรือของ "มะฮัร" ขันหมาก ขันพลู ขันของหมั้น (หากหมั้นกับวันแต่งเป็น วันเดียวกัน) นอกนั้นก็เป็นขนมต่าง ๆ
ผู้ที่จะถือขันหมาก นิยมเลือกคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือเป็นคนที่น่านับถือ รายที่ เคร่งครัดมาก ๆ จะห้ามหญิงหม้ายและสาว ๆ ถือขันหมาก เมื่อขบวนพร้อมแล้วจะเดินทางเพื่อให้ ทันฤกษ์กำหนดนิกะห์ เมื่อไปถึงบ้านเจ้าสาว จะมีคนออกมารับขันหมาก อาจเป็นสาว ๆ หรือ ผู้มีอาวุโสเป็นผู้เชิญขันหมากเข้าบ้านก็ได้ แล้วแต่ประเพณีนิยม
การนิกะห์ ต้องประกอบด้วยองค์ 5 ได้แก่
1. วลี คือ ผู้ปกครองของหญิงซึ่งมีสิทธิ์ให้หญิงนั้นประกอบพิธีสมรสต้องเป็นเพศชายมีสติ สัมปชัญญะ ไม่อยู่ระหว่างประกอบพิธีฮัจญ์ อาจเป็นบิดา ปู่ พี่ชายหรือน้องชายของหญิงก็ได้
2. เจ้าบ่าว
3. พยาน 2 คน (ต้องเป็นมุสลิมที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ และบรรลุนิติภาวะ)
4. ประธานผู้ทำพิธีนิกะห์ (อาจเป็นคนเดียวกับวลีก็ได้) หรือเป็นโต๊ะอิหม่ามในละแวกนั้น
5. มะฮัร
ในกรณีที่มีการหมั้นหลังการนิกะห์ นิยมจัดหมั้นในวันถัดไป อาจมีการจัดขบวนแห่ ขันหมากไปอีกครั้ง (จะไม่จัดก็ได้) เมื่อขบวนมาถึงบ้านเจ้าสาว ญาติฝ่ายเจ้าสาวจะออกมาต้อนรับ เจ้าบ่าวแล้วนำเจ้าสาวไปนั่งบัลลังก์ที่จัดเตรียมไว้ ซึ่งช่วงนั้นเป็นเวลากลางคืน
การให้บัลลังก์ ประเพณีของจังหวัดยะลาจะให้เจ้าบ่าวนั่ง (ทางขวา) ก่อน ต่อจากนั้น เจ้าบ่าวก็จะสวมของหมั้นให้แก่เจ้าสาว (การสวมของหมั้นอาจกระทำหลังเสร็จพิธีนิกะห์เลยก็ได้) ในขณะที่เจ้าสาวและเจ้าบ่าวนั่งบัลลังก์ (บนแท่นหรือเก้าอี้ที่ประดับประดาไว้อย่างสวยงาม) จะเชิญญาติมิตรของทั้ง 2 ฝ่าย มาชมเพื่อร่วมแสดงความยินดี และจะเชิญผู้ใหญ่ที่เป็นที่นับถือ หรือญาติผู้ใหญ่มาทำพิธีกินสมางัต โดยนำเอาส้มแขก เกลือ ข้าว มาป้อนคู่บ่าวสาว (จะใช้ วิธีแตะ ๆ ก็ได้) เพื่อเป็นสิริมงคล ต่อจากนั้นจะเชิญญาติผู้ใหญ่ที่มาในงาน 3 คน มาป้อน ข้าวเหนียว 3 สี (ขาวแดง เหลือง) ไข่ และขนมให้คู่บ่าวสาว การป้อนต้องป้อนแต่ละคนจนครบ ทุกอย่างเมื่อญาติผู้ใหญ่ทั้ง 3 คน ป้อนให้จนครบแล้ บรรดาญาติและแขกเหรื่อที่ไปอาจจะมอบ เงิน หรือของขวัญ ให้คู่บ่าวสาวเป็นอันเสร็จพิธี
ศาสนาอิสลามอนุญาต ให้ชายมีการแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักทางศาสนา ได้ถึง 4 คน แต่ทั้งนี้ฝ่ายชายจะต้องสามารถเลี้ยงดูให้มีความสุขและมีความยุติธรรมแก่ภรรยาทุกคนได้ ถ้าไม่ สามารถปฏิบัติดังกล่าวได้ ศาสนาได้กล่าวไว้ว่า ให้มีเพียงคนเดียว ข้อความดังกล่าวมีบัญญัติไว้ ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน ทั้งนี้เพราะการร่วมหลับนอนกับหญิงอื่นที่ไม่ได้แต่งงานให้ถูกต้องตามหลัก ศาสนาอิสลาม (นิกะห์) ห้ามโดยเด็ดขาด ถือว่าเป็นการบาปอย่างร้ายแรง หากชายใดมีความต้องการ ทางเพศมาก ก็ให้แต่งงานกับหญิงอื่นอย่างถูกต้องเสียก่อน ฉะนั้นการอนุญาตให้มีถึง 4 คนได้ จึงเป็นการป้องกันไม่ให้มีการลักลอบร่วมประเวณีกับหญิงอื่น และไม่ให้เที่ยวเตร่ในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การเที่ยวตามไนท์คลับ สถานอาบ อบ นวด และหญิงโสเภณี เป็นต้น

9) ประเพณีการเกิด : หลังจากคลอดบุตรแล้ว ชาวมุสลิมนิยมเชิญผู้รู้ทางศาสนา ทำการอาซานและอิกกอมะฮ. และการอะซาน คือการประกาศให้ทราบว่าเข้าสู่เวลาละหมาดแล้ว ส่วนการอิกอมะฮ.หรือกอมัต คือการกล่าวที่บอกให้ทราบว่าการละหมาดได้เริ่มขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ละหมาดเตรียมตัวให้พร้อม

10) ประเพณีการปลงศพเมื่อถึงแก่กรรม : เมื่อชาวมุสลิมเสียชีวิต ผู้ยังมีชีวิตอยู่ควรปฏิบัติต่อผู้ตายหรือมัยยิต ดังนี้
- รีบสภาพการณ์หรือข่าวการตายของมุสลิม
- ไปเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยไม่จำเป็นต้องเชื้อเชิญนอกจากการบอกการประกาศให้ทราบ เพื่อการไปร่วมละหมาดญะนาซะฮ.
- ตามไปส่งมัยยิต(ศพ)ยังกุโบร์หรือสุสาน
- ควรยืนขึ้นเมื่อศพถูกยกขึ้น หรือเมื่อมีศพผ่าน
- การละหมาดญานาซะฮ.ใก้แก่มัยยิต
- การฝังศพ
ส่วนญาติพี่น้องของผู้ตายต้องปฎิบัติต่อมัยยิต(ศพ)ก่อนนำไปฝัง ดังนี้
- จัดแต่งมัยยิตให้สะอาดเรียบร้อย
- อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด อาบน้ำละหมาด และแต่งกายให้แก่มัยยิต
- การนำมัยยิตไปละหมาดญานาซะฮ.ที่มัสยิด

11) การแต่งกาย : การแต่งกายของคนมุสลิมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยสามารถรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
- มุสลิมต้องแต่งกายให้เรียบร้อยเสื้อผ้าที่ใส่ต้องปกปิดสิ่งที่พึงสงวน และเป็นอาภรณ์ปประดับกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในที่ชุมชน หรือที่ที่มีบุคคลอื่นนอกจากคนในครอบครัวการแต่งกายของชายมุสลิม จำเป็นต้องปิดตั้งแต่สะดือจนถึงหัวเข่า การเปิดขาอ่อน เช่นนุ่งกางเกงขาสั้นจึงเป็นสิ่งต้องห้าม ไม่แต่เฉพาะผู้หญิงแต่รวมถึงผู้ชายด้วย ทั้งนี้ห้ามมิให้มองขาอ่อนของคนเป็นและคนตาย ขณะเดียวกันผ้านุ่ง (กางเกงและกระโปรง)ก็ต้องไม่ยาวเกินกว่าตาตุ่ม การแต่งกายของผู้หญิงมุสลิมจำเป็นต้องปกปิดทั่วร่างกายคือ ตั้งแต่ศรีษะเว้นไว้แต่ใบหน้าและฝ่ามือ ดังนั้นผู้หญิงมุสลิม จำเป็นต้องคลุมศรีษะหรือฮิญาบ โดยผ้าคลุมศรีษะนั้นตกปิดลงมาถึงหน้าอกและเสื้อผ้าที่สวมใส่จำเป็นจะต้องไม่บางและรัดรูป ไม่แต่งกายโดยโอ้อวดเครื่องประดับ ส่วนผู้หญิงที่แก่มากแล้วเป็นที่อนุโลม หากจะแต่งกายเป็นที่มิดชิดเท่าผู้หญิงวัยอื่น ๆ (เช่นจะไม่คลุมศรีษะ ไม่ปกปิดจนเหลือแต่ใบหน้าและฝ่ามือ) แต่การแต่งกายเป็นที่มิดชิดเป็นสิ่งที่ดีกว่าหากนางจะกระทำได้
- การแต่งกายนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความสะอาด กล่าวคือทั้งร่างกายและเสื้อผ้าจะต้องสะอาด ภาพลักษ์ที่ปรากฎจาการแต่งกายต้องอยู่ในสภาพของผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี เช่นทั้งร่างกายปละเสื้อผ้าต้องสะอาดเกลี้ยงเกลา ปราศจากกลิ่นและสีแห่งความสกปรก หากเป็นชชายก็ไม่ปล่อยให้ผมยุ่งรุงรัง
- การแต่งกายนั้นต้องแสดงออกซึ่งความเป็นมุสลิม กล่าวคือ ต้องให้แตกต่างจากศาสนิกอื่น เช่นให้สะอาดเรียบร้อยมิดชิด อาทิ ผู้หญิงต้องคลุมฮิญาบ ผู้ชายควรไว้หนวดไว้เคราและหากปฎิบัติตามแบบฉบับท่านศาสดา(ซ.ล.) ได้หมดคือการสวมหมวกและโพกผ้า
- การแต่งกายนั้นต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่ฟุ่มเฟือย ไม่แสดงถึงความโอ้อวดแต่ขณะเดียวกันก็ไม่ตะหนี่ถี่เหนียว จนทำให้ขาดความเหมาะสมจนเสียบุคลิกภาพ
- ชายต้องไม่นำทองคำมาเป็นอาภรณ์ประดับ เพราะทองเป็นของมีค่าเหมาะสำหรับเพศหญิงเท่านั้น เช่นเดียวกับผ้าไหม
- ชายต้องไม่แต่งเสียผ้าที่ทำจากไหม เว้นแต่เฉพาะเพื่อรักษาโรค
- มุสลิมทั้งชายหญิงต้องไม่แต่งตัวผิดเพศ กล่าวคือ ชายต้องไม่แต่งกายแบบหญิง และหญิงต้องไม่แต่งกายแบบชาย

12) ศีละ : เป็นศิลปะป้องกันตัวประเภทหนึ่งที่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ มีจังหวะลีลา ตามเสียงดนตรีพื้นเมือง (ปี่ กลอง)มีจังหวะเร้าใจ

13) รองเง็ง : เป็นศิลปะการร่ายรำเน้นหนักทางนันทนาการ มีลีลาอ่อนช้อยตามจังหวะดนตรี(ส่วนใหญ่นิยมรำคู่ ชาย - หญิง)



14) ดีเกฮูลุ : เป็นการแสดงแบบรับร้องโต้ตอบ หรือร้องเดี่ยวโดยใช้ปฎิภาณไหวพริบเช่นเดียวกับลำตัดดีเกฮูลูคณะหนึ่งจะมีลูกคู่ประมาณ 10 คน ผู้ร้องเพลงประจำคณะจะมี 2-3 คน ในขณะลูกคู่จะนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้าจังหวะดนตรี ประกอบการแสดงได้แก่ กลองรำมะนา ฆ้อง โหม่ง และลูกแซ็ก ดีเกฮูลูในอำเภอยี่งอจะมีหลายคณะ

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
http://www.kbyala.ac.th/job-m3/j21.ppt#267,12,ภาพนิ่ง 12
http://202.143.134.120/amnuaykarn/lp1/item/naradata.doc
http://www.khlong-u-taphao.com/
http://www.geocities.com/provyala/
http://www.sns.ac.th/www512/406/19.html
http://www.pocnara.go.th/narathiwat/provnara/nara/nara8.html
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=425835
http://www.openbase.in.th/node/7357
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ดง